พระราชบัญญัติคู่ชีวิตคืออะไร

ปัจจุบันได้มีการยกร่าง พระราชบัญญัติคู่ชีวิตขึ้น ประกอบด้วย 4 หมวด หมวด 1 ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียนคู่ชีวิต หมวด 2 ว่าด้วยเรื่องการเป็นคู่ชีวิต หมวด 3 ว่าด้วยเรื่องบุตรบุญธรรม หมวด 4 ว่าด้วยเรื่องมรดก มีมาตราประมาณ 50 มาตรา โดยตอนนี้ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตได้ผ่านการพิจารณาในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่รักเพศเดียวกัน 

ทำไมเราถึงควรสนับสนุนให้มีการร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต

คู่รักเพศเดียวกันไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมาย เมื่อมีกรณีที่เกี่ยวกับกฎหมายบางอย่างคู่รักเพศเดียวกันย่อมถูกจำกัดสิทธิเพราะไม่ใช่สามีภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมายจึงไม่อาจกระทำการใดก็ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องของสามีภริยาได้ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่าชายหญิงเท่านั้นที่จะสามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ตามกฎหมาย เมื่อเช่นนั้นแล้วปัญหาในเรื่องการถูกจำกัดสิทธิจึงเกิดขึ้น อย่างเช่น

กรณีที่ไม่สามารถกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถร่วมกันได้ เพราะถ้าจะกู้เงินซื้อบ้านซื้อรถร่วมกันได้จะต้องมีความสัมพันธ์กันเช่น พ่อ-ลูก แม่-ลูก สามี-ภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

กรณีมรดก มรดกไม่อาจตกทอดได้ถ้าไม่ใช่ทายาทโดยธรรมตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ บุตร สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน พี่น้องพ่อหรือแม่เดียวกัน ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย แล้วนั้นก็จะไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามกฎหมายกำหนดเลย นอกเสียจากว่าจะได้ทำพินัยกรรมไว้

กรณีการผ่าตัด การรับการรักษาทางการแพทย์ บุคคลที่จะสามารถเซ็นต์เอกสารให้การยินยอมในการรับการรักษาหรือแม้กระทั่งการงดเว้นการรักษาได้ก็ต้องเป็น พ่อ แม่ บุตร สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย

กรณีที่กล่าวไปข้างต้นนั้นย่อมเป็นปัญหาแก่คู่รักเพศเดียวกันในการที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องมีการยกร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตขึ้น ซึ่งในพระราชบัญญัตินั้นจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกัน และความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิต รวมถึงมีการรับรองให้สามารถกระทำการต่างๆได้เหมือนคู่สมรสทุกประการ แต่จะไม่เรียกการจดทะเบียนดังกล่าวว่าจดทะเบียนสมรส จะเรียกว่า จดทะเบียนคู่ชีวิต ส่วนการหย่าร้างกันจะเรียกว่า จดทะเบียนเลิกกัน ทั้งนี้ไม่ว่าเพศไหนก็สามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็น ชายจดทะเบียนคู่ชีวิตกับชาย หรือหญิงจดทะเบียนคู่ชีวิตกับหญิง ซึ่งจะแตกต่างจากการสมรสที่กำหนดให้ชายจดทะเบียนสมรสกับหญิงเท่านั้น

ปัจจุบันพระราชบัญญัติคู่ชีวิตนั้นยังไม่ได้มีการประกาศใช้เนื่องจากยังมีความบกพร่องในบางมาตรา จึงต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นและตัวบทมาตราต่างๆจะต้องมีการแก้ไขให้เป็นคุณต่อประชาชนทุกคนด้วย อย่างไรก็ตามเราทุกคนก็ควรสนับสนุนให้ทุกเพศไม่ถูกจำกัดสิทธิ์ เพราะความรักไม่ได้ถูกจำกัดแค่คำว่าเพศทุกคนจึงสามารถรักกันได้ เรื่องความรักไม่ใช่เรื่องของการแบ่งแยกเพศ การจะไปจำกัดเพศจำกัดสิทธิ์เขานั้นย่อมเป็นสิ่งที่เราไม่ควรกระทำ  

 

 

สนับสนุนโดย  ทดลองเล่นบาคาร่า